วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การวิจักษ์วรรณคดี

                                      การวิจักษ์วรรณคดี
         การวิจักษ์วรรณคดี หมายถึง การอ่านวรรณคดี โดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรองแยกแยะและแสวงหาเหตุผล เพื่อประเมินคุณคาของวรรณคดีไดอยางมีเหตุผล และพิจารณาไดว่าหนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถอยคำและสำนวนภาษาได้ไพเราะหรอลืกซึ้งเพึ้ยงใดใหคุณค่า ความรูข้อคิดและคติสอนใจ หรอถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อของคน ในสังคมอยางไร อ่านเพิ่ม

บทอาขยาน

บทอาขยาน    
แมวเอ๋ย แมวเหมียว รูปร่าง ประเปรียว เป็นหนักหนา ร้องเรียก เหมียวเหมียว ประเดี๋ยวก็มา เคล้าแข้ง เคล้าขา น่าเอ็นดู รู้จัก เอารัก เข้าต่อตั้ง ค่ำค่ำ ซ้ำนั่ง ระวังหนู ควรนับว่ามัน กตัญญู พอดู อย่างไว้ ใส่ใจเอย
************

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

                            มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก
           มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก  อ่านเพิ่ม



มงคลสูตรคำฉันท์

                                 มงคลสูตรคำฉันท์ 
                  มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลยอ่านเพิ่ม

                             ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ประวัติผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน อ่านเพิ่ม

หัวใจชายหนุ่ม

       
                                       หัวใจชายหนุ่ม


 หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือนอ่านเพิ่ม 

นิราศนรินทร์คำโคลง

                                   นิราศนรินทร์คำโคลง
   

นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา อ่านเพิ่ม

เรื่อง นิทานเวตาล(เรื่องที่10)


                              เรื่อง นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

              นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ   อ่านเพิ่ม

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

                            อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

ครั้นแล้วท้าวกะหมังกุหนิงเสด็จนั่งที่ประทับที่ประดับด้วยมณีทั้งหลาย พระองค์มองเห็นถึงพระอนุชาทั้ง ๒ คน จึงเรียกให้มานั่งที่ประทับพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ครั้นแล้วจึงความเป็นไปของบ้านเมือง และบอกถึงความประสงค์ของตนว่าที่เรียกอนุชาทั้ง 2 มาเพื่อจะให้ช่วยไปตีเมืองดาหาขอให้ทั้งสอง ช่วยตีเมืองให้ได้ชัยชนะเร็วไว เจ้าเมืองผู้น้องทั้งสองจึงได้รับสนองผู้เป็นพี่ ครั้งใดที่ท้าวกะหมังกุหนิงมีศึกเจ้าเมืองน้อยทั้งสองก็จะออกอาสาไม่ย่อท้อ ถึงตายก็ไม่เสียดายชีวิตจะสู้จนกว่ากำลังวังชาจะสูญสิ้นไป

คำนมัสการคุณานุคุณ

                                              คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกอ่านเพิ่ม
ต้องเหมาะสม

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี

                                               

                                               การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี

คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ ในระดับต้นๆ เป็นการบอกกล่าวความคิดเห็นส่วนตัวว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านอย่างไร บางครั้งอาจจะติชมว่าดีหรือไม่ดีด้วยแต่ผู้อ่านที่ดีจะต้องไม่หยุดอยู่เพียงนั้น ควรจะถามตนเองต่อไปว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ และที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด  อ่านเพิ่ม